เครื่องเติมอากาศ คืออะไร ใช้งานอย่างไร?

เครื่องเติมอากาศ

เครื่องเติมอากาศ คืออะไร ใช้งานอย่างไร?

เติมออกซิเจนให้กับน้ำช่วยบำบัดน้ำเสียกับเครื่องเติมอากาศ

หนึ่งในปัญหาใหญ่ ๆ ที่สามารถส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของทั้งคนและสิ่งมีชีวิตคือปัญหาน้ำเสีย เพราะน้ำถือเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ในการดำรงชีวิตของทั้งคนและสิ่งมีชีวิต ปัญหาน้ำเสียนั้นมีสาเหตุได้หลากหลายปัจจัย และยังส่งผลเสียต่อระบบนิเวศทั้งทางตรงและทางอ้อมได้โดยตรง ซึ่งโดยปกติแล้วธรรมชาติสามารถบำบัดน้ำเสียเหล่านี้ให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเองอยู่แล้ว แต่ด้วยปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นปัจจุบันทำให้การบำบัดโดยธรรมชาติไม่เพียงพออีกต่อไป เราจึงต้องนำนวัตกรรมเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการบำบัดน้ำเสียเพื่อคืนความสมดุลสู่ธรรมชาติด้วยการใช้เครื่องเติมอากาศ

ปัญหาน้ำเสียส่งผลกระทบอย่างไร

โดยปกติแล้วในขณะที่มนุษย์เราใช้ชีวิตในแต่ละวันย่อมมีการปล่อยของเสียเข้าสู่ธรรมชาติทีละน้อยอยู่ตลอดเวลา ทั้งการทิ้งน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูลจากแหล่งชุมชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำเสียที่เกิดจากธรรมชาติ หรือกระทั่งเกิดจากพื้นที่ทำการเกษตร หากขาดการบำบัดน้ำเสียผ่านการใช้เครื่องเติมอากาศจะส่งผลกระทบที่เกิดจากมลพิษทางน้ำต่อวงจรชีวิตของสัตว์น้ำรวมไปถึงความอุดมสมบูรณ์หรือแหล่งอาหารในบริเวณนั้นลดลง และยังสามารถทำให้มีโอกาสที่น้ำเสียบริเวณนั้นจะกลายเป็นแหล่งระบาดของเชื้อโรคอย่าง ท้องเสีย บิด อหิวาตกโรค ส่งผลกระทบต่อทั้งการเพาะปลูก ทัศนียภาพ ความสวยงามของแหล่งน้ำและยังสามารถส่งกลิ่นเหม็นเน่าเสียในบริเวณนั้นได้อีกด้วยหากเราขาดการใช้เครื่องเติมอากาศบำบัดน้ำเสียในพื้นที่ของเรา

น้ำเสียบำบัดได้อย่างไร

ตามธรรมชาติแล้วปัญหาน้ำเสียสามารถแก้ได้ด้วยวิธีการไหลเวียนที่ถ่ายเทของสายน้ำอยู่ตลอดเวลา แต่หากเกิดสภาวะน้ำนิ่งไม่มีการไหลเวียนถ่ายเทอย่างเช่นน้ำในบึง อ่างเก็บน้ำ บ่อบำบัดน้ำเสีย หากไม่มีการใช้งานเครื่องเติมอากาศก็สามารถก่อให้เกิดปัญหาน้ำเสียได้ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วจะมีการเติมออกซิเจนด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอน และสาหร่าย ที่อยู่ภายในน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้มีปริมาณเพียงพอสำหรับจุลินทรีย์ หรือ แบคทีเรียเพื่อให้สามารถนำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้นั่นเอง แต่ในภายหลังบ่อน้ำเสียหลาย ๆ แห่งมีสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนและสาหร่ายซึ่งส่งผลกระทบต่อวงจรการบำบัดน้ำเสียเนื่องจากขาดออกซิเจนสำหรับจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย จึงได้มีนวัตกรรมเครื่องจักรที่เรียกว่า เครื่องเติมอากาศ สำหรับช่วยเพิ่มออกซิเจนภายในบ่อน้ำเสียให้สามารถบำบัดน้ำเสียได้แม้ไม่มีแพลงก์ตอนและสาหร่าย

เครื่องเติมอากาศนวัตกรรมช่วยบำบัดน้ำเสียและอื่นๆอีกมากมาย

การเติมอากาศเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งของระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นขั้นตอนที่มีการใช้พลังงานสูง เนื่องจากบ่อบำบัดน้ำเสียต้องมีการเลี้ยงเชื้อในบ่อ เพื่อให้เชื้อจับของเสียที่อยู่ในบ่อจนมีการตกตะกอน ดังนั้นจำเป็นต้องใช้เครื่องเติมอากาศ ในการเติมอากาศให้เชื้อ เพื่อให้เชื้ออยู่รอดได้

ประเภทเครื่องเติมอากาศแต่ละรูปแบบ

ตัวเครื่องเติมอากาศยังมีการแบ่งรูปแบบประเภทตามลักษณะรูปแบบการใช้งานที่เหมาะสมแต่ละประเภท โดยเราสามารถแบ่งประเภทเครื่องเติมอากาศได้ดังนี้

เครื่องเติมอากาศ

โดยลักษณะการทำงานติดตั้งอยู่บนผิวน้ำ ใช้หลักการดูดน้ำจากในบ่อขึ้นมาผสมกับอากาศบนผิวน้ำและกระจายฟองอากาศเป็นวงกว้าง 

ตัวอย่างเครื่องเติมอากาศบนผิวน้ำที่เป็นที่นิยมอย่างเช่นรุ่น SAR มีคุณสมบัติเด่น ๆ คือ

  1. สามารถผลิตออกซิเจนได้ที่ 3 – 95 kg 02/Hr. 
  2. กำลัง 1.5 กิโลวัตต์ – 75 กิโลวัตต์
  3. สามารถใช้งานได้ที่ระดับความลึก 2 – 6 ม.
  4. รองรับอุณภหูมิของน้ำได้ถึง ≤ 40 องศาเซลเซียส
  5. วัสดุมอเตอร์ชนิด TEFC (Totally Enclosed Fan Cooled คุณสมบัติกันน้ำและฝุ่น: IP 56,ระดับฉนวน (Insulation Class) วัสดุใบพัดทำจากแสตนเลสออกแบบมาเป็นพิเศษ มีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อน และวัสดุทุ่นลอยน้ำ (Floater) ซึ่งทำจากไฟเบอร์กลาส มีคุณสมบัติที่แข็งแรง ไม่ผุกร่อน น้ำหนักเบาเป็นพิเศษ เหมาะสำหรับนำไปใช้งานกลางแจ้ง
  6. ป้องกันการรั่วซึมโดยใช้แมคคานิคัลซีล (Mechanical Seal) ถนอมเพลา ยืดอายุการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องเติมอากาศ

เป็นเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ ที่ใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนการหมุนของใบพัดโดยตรง สำหรับการสร้างแรงเหวี่ยงซึ่งจะทำให้เกิดแรงดันน้ำโดยรอบ และในขณะเดียวกันนั้นเองก็จะเกิดการดูดสุญญากาศเข้าท่อผสมเข้ากับน้ำ ภายหลังจากที่น้ำและอากาศผสมรวมตัวกันแล้วเกิดแรงเหวี่ยงดันออกมาทำให้สามารถกระจายตัวเป็นฟองอากาศขนาดเล็กในจำนวนมากและเป็นบริเวณกว้าง จัดเป็นเครื่องเติมอากาศที่มีคุณสมบัติเพิ่มออกซิเจนสูงมากอีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีเวลาในการให้ออกซิเจนถ่ายเทให้กับน้ำเสียเป็นเวลานาน เพราะเป็นการเติมอากาศในระดับน้ำที่ลึก และเกิดฟองอากาศกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอทั่วทุกทิศทาง

เครื่องเติมอากาศ

รูป แสดงการทำงานของเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ รุ่น AR

ตัวอย่างเครื่องเติมอากาศใต้น้ำที่เป็นที่นิยมได้แก่รุ่น AR ที่มีคุณสมบัติเด่นชัดคือ

  1. มีขนาดท่อ 40 – 150 มม.
  2. อัตราการไหล 30 – 825 ลบม./ชม. 
  3. สามารถผลิตออกซิเจนได้ที่ 1 – 82 kgO2/ชม.
  4. กำลัง 1.5 – 55 กิโลวัตต์
  5. ความลึกของบ่อสูงสุด 1 – 6 ม.
  6. รองรับอุณภหูมิของน้ำได้ถึง ≤ 40 องศาเซลเซียส
  7. ถูกออกแบบให้สามารถกระจายออกซิเจนได้รอบทิศทาง และมีช่องสำหรับกระจายฟองอากาศรอบตัวปั๊มเติมอากาศมากถึง 12 – 14 ช่อง พร้อมตะแกรงกรองเศษขยะ
  8. ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ากันน้ำและฝุ่น: IP68, ระดับฉนวน (Insulation Class F) ที่สามารถใช้งานโดยแช่อยู่ใต้น้ำได้ตลอดเวลา
  9. มีใบพัดที่มีครีบขนาดใหญ่ ไม่ทำให้เกิดการอุดตัน
  10. สายไฟของเครื่องเติมอากาศผ่านการหล่อสายไฟให้เป็นชิ้นเดียวกันพร้อมมีซีลยางสำหรับป้องกันน้ำเข้าโดยเฉพาะ

เครื่องเติมอากาศ

เป็นเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ ประกอบด้วยปั๊มน้ำ โดยมีท่ออากาศต่อกับตัวฉีดน้ำ เมื่อเครื่องปั๊มน้ำทำงาน การไหลของน้ำที่หัวฉีดน้ำจะทำให้เกิดแรงดูดอากาศผ่านทางท่ออากาศลงมาผสมกับน้ำ แล้วฉีดพ่นออกไปกับน้ำเป็นฟองอากาศเล็กๆ โดยพ่นออกซิเจนออกไปแค่ทิศทางเดียว

เครื่องเติมอากาศ

รูป แสดงการทำงานของเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ รุ่น JA

ตัวอย่างเครื่องเติมอากาศใต้น้ำแบบหัวฉีด (Jet Aerator) เป็นที่นิยมได้แก่รุ่น JA ที่มีคุณสมบัติเด่นชัดคือ

  1. อัตราการไหล 11 – 103 ลบม./ชม. 
  2. สามารถผลิตออกซิเจนได้ที่ 0.35 – 5.9 kgO2/ชม.
  3. กำลัง 0.75 – 5.5 กิโลวัตต์
  4. ความลึกของบ่อสูงสุด 1 – 6 ม.
  5. รองรับอุณภหูมิของน้ำได้ถึง ≤ 40 องศาเซลเซียส
  6. ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ากันน้ำและฝุ่น: IP68, ระดับฉนวน (Insulation Class F) ที่สามารถใช้งานโดยแช่อยู่ใต้น้ำได้ตลอดเวลา
  7. มีใบพัดที่มีครีบขนาดใหญ่ ไม่ทำให้เกิดการอุดตัน
  8. สายไฟของเครื่องเติมอากาศผ่านการหล่อสายไฟให้เป็นชิ้นเดียวกันพร้อมมีซีลยางสำหรับป้องกันน้ำเข้าโดยเฉพาะ

เครื่องเติมอากาศ

เป็นเครื่องเติมอากาศที่ใช้สำหรับเติมออกซิเจนในน้ำ ประกอบด้วยตัวเครื่องเป่า (Main Body) และมอเตอร์ติดตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน และชุดเครื่องเติมอากาศดังกล่าวจะถูกติดตั้งอยู่บนบก โดยจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ หัวจ่ายอากาศใต้น้ำ (Diffuser) ร่วมด้วยในการใช้พ่นฟองอากาศ  ตัวอย่างเครื่องเติมอากาศแบบรูทโบลเวอร์ (Three-Lobe Roots Blower) เป็นที่นิยมได้แก่รุ่น GRB ที่มีคุณสมบัติเด่นชัดคือ

  1. ขนาดท่อ 40-400 มม.
  2. ปริมาณลม 0.63-285 ลบม./นาที
  3. แรงดันสูงสุด 8,000 มม.น้ำ (0.8 กก./ซม2.)
  4. กำลังมอเตอร์สูงสุด 200 กิโลวัตต์
  5. มีโรเตอร์สองชุดเป็นแบบ 3 Lobe ถูกออกแบบเป็นพิเศษเพื่อลดการสั่นสะเทือนและเสียงรบกวน
  6. มีท่อเก็บเสียง (Silencer) ทางดูดและทางส่งเพื่อลดมลภาวะทางเสียง

เลือกเครื่องเติมอากาศให้เหมาะสมเลือกผู้ให้บริการที่มีคุณภาพ

เพราะการเลือกปั๊มเติมอากาศที่เหมาะกับประเภทการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ล้วนต้องเลือกลักษณะปั๊มเติมอากาศที่เหมาะสม ทั้งยังต้องตรวจสอบคุณภาพก่อนการใช้งานเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจึงควรเลือกผู้ให้บริการเครื่องเติมอากาศที่มีคุณภาพ บริษัท ไทยพินนะเคิ้ล เอนจิเนียริ่ง จำกัด (Thaipinnacle Engineering) คือผู้เชี่ยวชาญด้านปั๊มเติมอากาศ ปั๊มน้ำ ปั๊มอุตสาหกรรม ให้บริการยี่ห้อชั้นนำมากมายอย่าง GSD, Walrus, Dayuan, Nikkiso และ SeAH จากประเทศไต้หวัน ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี ด้วยประสบการณ์การให้บริการเครื่องเติมอากาศที่ยาวนานกว่า 25 ปี มั่นใจได้ถึงมาตรฐานสินค้า การบริการ เพราะมีการพัฒนานวัตกรรมที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

เราจะเห็นได้ว่าความสำคัญของเครื่องเติมอากาศนั้นมีคุณสมบัติที่หลากหลาย สามารถใช้ปั๊มเติมอากาศในการให้ออกซิเจนกับน้ำเพื่อช่วยในการบำบัดน้ำเสีย หรือใช้เครื่องเติมอากาศสำหรับภาคอุตสาหกรรม เรายังสามารถใช้ปั๊มเติมอากาศในการเลี้ยงสัตว์น้ำต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน สำหรับท่านใดที่สนใจเครื่องเติมอากาศแต่ยังไม่แน่ใจว่าต้องเลือกปั๊มเติมอากาศประเภทใดที่เหมาะสมกับการใช้งาน การเลือกใช้บริการให้คำปรึกษากับ บริษัท ไทยพินนะเคิ้ล เอนจิเนียริ่ง จำกัดก็เป็นอีกหนึ่งทางออกที่เหมาะสม เพราะนอกจากสินค้าที่มีมาตรฐาน คุณภาพสูง ประสิทธิภาพทำงานดีเยี่ยม ยังมีทีมงานมืออาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านปั๊มเติมอากาศโดยเฉพาะสามารถให้บริการให้คำปรึกษา เกี่ยวกับเครื่องเติมอากาศในการใช้งานที่เหมาะสม

 

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

แชร์บทความ :

Facebook
X