ประเภทของปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump)
และชนิดที่ต้องรู้
ความแตกต่างและประสิทธิภาพของปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump)
ปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump) เป็นปั๊มที่นิยมที่สุด และใช้งานได้กับหลายประเภท อีกทั้งชนิดของปั๊มหอยโข่งยังมีหลากหลายให้เลือกตามการใช้งานและของเหลวที่ผ่านปั๊ม โดยการทำงานหลักของปั๊มหอยโข่ง คือมอเตอร์จะสร้างพลังงานให้กระแสน้ำเกิดการไหลและเหวี่ยงให้ของเหลวให้เกิดการเคลื่อนที่ตามทิศทางการหมุน โดยมีใบพัดและหัวปั๊มหอยโข่งเป็นตัวควบคุมทิศทางการไหลของเหลวนั้น โดยประสิทธิภาพของปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump) ที่ดีนั้นจะขึ้นอยู่กับความหนืดของเหลวที่มีความหนืดต่ำ และความหนาแน่นของของเหลว จะมีผลกับกำลังไฟฟ้าที่ใช้กับปั๊ม นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงอุณหภูมิและความดันของของเหลวที่จะส่งผลต่อวัสดุด้านในของปั๊มหอยโข่ง
การจำแนกประเภทและชนิดของปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump) เพื่อให้เข้าใจได้มากขึ้น
1. ปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump) แบ่งตามประเภทแรงดันไฟฟ้า 1.1 ไฟ 1 เฟส หรือ Single Phase เป็นระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันอยู่ที่ 220 โวลท์ หรือเท่ากับการใช้งานอยู่ทั่วไปตามบ้านเรือน และการเกษตร1.2 ไฟ 3 เฟส เป็นระบบไฟฟ้าที่มีแรงดัน 380 โวลท์ เหมาะสําหรับอาคารสูง, โรงงาน และสถานที่ที่ต้องการใช้ไฟฟ้าจํานวนมาก
2. ปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump) แบ่งตามชนิดใบพัด 2.1 ใบพัดแบบปิด (Closed Impeller) เป็นใบพัดที่ใช้งานทั่วไปในปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump) โดยลักษณะเป็นแผ่นโลหะ (เหล็ก, สแตนเลส, ทองเหลือง) 2 ชิ้น ประกบครีบใบพัดทําให้เกิดช่องว่างเพื่อรองรับการไหลของของเหลว นอกจากนั้นยังทําให้ประสิทธิภาพการไหล (Flow) ดีกว่าใบพัดประเภทอื่น แต่ใบพัดแบบปิดจะรองรับของเหลวที่เป็นน้ําสะอาด เท่านั้น
2.2 ใบพัดแบบกึ่งเปิด (Semi-open Impeller) ลักษณะใบพัดประเภทนี้จะแตกต่างจากใบพัดแบบปิดเล็กน้อย คือในส่วนของแผ่นโลหะ (เหล็ก, สแตนเลส, ทองเหลือง) ที่ติดกับครีบใบพัดจะมีแค่ 1 ชิ้น ซึ่งทําให้แรงดันน้ำและปริมาณน้ำต่ำกว่าใบพัดแบบปิด และสามารถรองรับการไหล (Flow) ของของเหลวที่มีตะกอนได้บางส่วนและรองรับของเหลวที่มีความหนืดได้เช่นกัน
GMP series
2.3 ใบพัดแบบเปิด (Open Impeller) ลักษณะใบพัดที่มีเพียงครีบใบพัดอย่างเดียว โดยไม่มีแผ่นประกบ ทําให้ใบพัดชนิดนี้รองรับตะกอน เศษวัสดุที่ขนาดใหญ่ขึ้นได้ แต่ด้วยลักษณะของใบพัด ทําให้รับแรงกระแทกจากของเหลว ได้น้อยกว่า 2 ชนิดแรก จึงทําให้ปั๊มเหล่านี้มีประสิทธิภาพที่ต่ํากว่า อีกทั้ง ความเร็วรอบของมอเตอร์ที่ใช้ต้องลดลง เพื่อป้องกันการแตกหักของใบพัดนั่นเอง 3. ปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump) แบ่งตามลักษณะการใช้งาน 3.1 ปั๊มแนวนอน, ชนตรง, ใบพัดเดี่ยว (แบบปิด) ปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump) รุ่นยอดนิยม ที่ทุกท่านรู้จัก โครงสร้างเป็นรูปหอยโข่งติดตั้ง แนวนอน เช่น ยี่ห้อ GSD รุ่น GPS ใบพัดเดี่ยวแบบปิด ผ่านการคํานวณด้วย Hydraulic Model พร้อมมาตรฐาน หน้าแปลน DIN10/16 ใช้สําหรับน้ําประปาในระบบอุตสาหกรรม, ระบบน้ําชลประทาน และใช้สําหรับระบบคอนเดนเสท ( Condensate System)
3.2. ปั๊มแนวตั้ง, ชนตรง, ใบพัดเดี่ยว (แบบปิด) ปั๊มหอยโข่งแบบอินไลน์ ช่วยประหยัดพื้นที่การติดตั้ง เหมาะสําหรับลูกค้าที่มีพื้นที่ใช้งานจํากัด เช่น ยี่ห้อ GSD รุ่น LPS ตัวปั๊มและมอเตอร์ติดกัน ใช้สําหรับน้ำประปาในระบบอุตสาหกรรม การก่อสร้าง ระบบประปาอาคารสูง เช่น อพาร์ทเมนต์ และหอพัก ระบบน้ําชลประทาน และ เหมาะเป็นพิเศษกับการไหลเวียนของน้ําเย็นหรือน้ําร้อนในระบบชิลเลอร์ และใช้ร่วมกับอุปกรณ์หม้อต้มไอน้ําได้
3.3 ปั๊มแนวนอน, ชนตรง, หลายใบพัด (แบบปิด) หรือปั๊มมัลติเสตจ อาศัยหลักการแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ในการทําอัตราการไหลและแรงดันเหมือนกับปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal pump) แต่ปั๊มมัลติสเตจจะมีหลายใบพัดซ้อน ๆ กัน ทําให้สามารถทําแรงดันได้มากกว่าปั๊มน้ําทั่วไป เช่น ปั๊มมัลติเสตจ ยี่ห้อ Walrus รุ่น TPH รูปทรงสวยงาม กะทัดรัด ง่าย ต่อการบํารุงดูแลรักษา โครงสร้างปั๊มทําจากแสตนเลส ทําให้ไม่เกิดสนิม ใช้งานกับระบบฉีดล้างทําความสะอาด ระบบบูสเตอร์แรงดัน, ระบบชลประทานและการเกษตร ระบบเครื่องกรองน้ำ
ภาพติดตั้งหน้างาน บ.ภามภากร จก.
3.4 ปั๊มแนวตั้ง, ชนตรง, หลายใบพัด (แบบปิด) หรือปั๊มมัลติสเตจแบบแนวตั้ง ติดตั้งและบํารุงดูแลรักษาง่ายเหมาะ สําหรับนําไปใช้งานเพิ่มแรงดันน้ํา งานประปาและระบบหมุนเวียนน้ําและการฉีดพ่นสารหล่อลื่นระบายความร้อน โดยเฉพาะสําหรับเครื่องกลึง เช่น ปั๊มมัลติเสตจ ยี่ห้อ Walrus รุ่น TPHK ทรงแนวตั้ง สวยงาม ประหยัด พื้นที่ ติดตั้งง่าย โครงสร้างปั๊มเป็นแสตนเลส เหมาะสําหรับการใช้งานกับระบบฉีดล้างทําความสะอาด ใช้กับระบบเครื่องกรองน้ำ เครื่องมือ เครื่องจักรทั้งหมดที่มีการดําเนินการเกี่ยวกับการหมุน, กัด, เจาะ, ตัด, ตัด, บด ฯลฯ เหมาะกับการส่ง ของเหลว เช่น น้ําหล่อเย็น น้ํามันอ่อน เป็นต้น3.5 ปั๊มต่อยอย, ปั๊มชนยอย, ปั๊มแยกยอย ใบพัดเดี่ยว (แบบปิด) เป็นปั๊มหอยโข่ง (Centrifugal Pump) ที่สามารถถอดใบพัดด้านหลังได้ (Back Pull Out) มีทางส่งด้านบนในแนวศูนย์กลางของเสื้อปั๊ม ทําให้ปั๊มมีความสมดุล สามารถเปลี่ยนแทนปั๊มเดิมได้ง่ายทําให้เหมาะกับการใช้งานที่หลากหลาย เช่น ปั๊มยี่ห้อ GSD รุ่น GHS (DIN24255) และ ISP (ISO2858) เหมาะสําหรับลําเลียงน้ําสะอาดและของเหลวที่มี สารเคมี และของเหลวอื่นๆ, ระบบระบายน้ําโรงงาน และ ระบบการไหลเวียนของน้ําเย็นหรือน้ําร้อนในระบบชิลเลอร์และงานดับเพลิง
ภาพติดตั้งหน้างาน บ.เค พี เอ็น กรีนเทค จก.
3.6. ปั๊มต่อยอย, ปั๊มชนยอย, ปั๊มแยกยอย ใบพัดเดี่ยวดูด 2 ทาง (แบบปิด) ปั๊มสปลิทเคส (Split case) สามารถติดตั้งได้ทั้งแบบแนวนอน และแนวตั้ง ตัวเรือนปั๊มถูกแยกออกเป็น 2 ห้อง เพื่อรองรับปริมาณน้ําที่มากขึ้น มีการติดตั้งมอเตอร์ได้ 2 ทิศทาง การซ่อม การบํารุงรักษาค่อนข้างทําได้ง่ายกว่าปั๊มอื่น เช่น ยี่ห้อ GSD รุ่น DV (H) เป็นปั๊มสปลิทเคส สําหรับใช้ส่งน้ําดิบ, ระบบ จ่ายน้ําในโรงงานต่างๆ
ภาพติดตั้งหน้างาน วัดสังกะสี จ.ชลบุรี
เมื่อเลือกประเภทและชนิดปั๊มหอยโข่งได้ตามความต้องการแล้ว สิ่งที่ต้องพิจารณานอกจากยี่ห้อ คุณภาพสินค้าและวัสดุที่ใช้แล้ว ยังต้องเลือกที่ผ่านมาตราฐานการรับรองต่างๆ เช่น ปั๊มหอยโข่งยี่ห้อ GSD ได้ผ่านมาตรฐานการผลิต EN หรือ ISO และมาตรฐานการป้องกันฝุ่นและน้ําของมอเตอร์ (IP Standard) ใช้มาตราฐานหน้าแปลน DIN, PN10/1ุ6 เป็นต้น
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่