ระบบบำบัดน้ำเสียกับปั๊มน้ำอุตสาหกรรม มีความสำคัญอย่างไร

ระบบบำบัดน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสียกับปั๊มน้ำอุตสาหกรรม มีความสำคัญอย่างไร

ปั๊มน้ำอุตสาหกรรมเครื่องมือพื้นฐานในระบบบำบัดน้ำเสีย

น้ำเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญทั้งในการดำรงชีวิตและในด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ที่น้ำเป็นองค์ประกอบช่วยให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพ แต่หลังจากการใช้น้ำในกิจกรรมต่าง ๆ แล้วคุณภาพของน้ำจะด้อยลงเพราะมีสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำ ซึ่งหากไม่มีการกำจัดที่ถูกวิธี น้ำที่มีการปนเปื้อนจะส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้ จึงเป็นสาเหตุให้โรงงานอุตสาหกรรมหรือในแหล่งชุมชนมักจะมีระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยกำจัดสิ่งสกปรกที่ปนเปื้อนในน้ำ ช่วยให้คุณภาพของน้ำดีขึ้น ได้ตามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม หรือมีคุณภาพที่เหมาะสมสามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่ในกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม

ปั๊มน้ำอุตสาหกรรม เป็นเครื่องมือพื้นฐานและมีบทบาทสำคัญในระบบบำบัดน้ำเสีย ทำหน้าที่ในการสูบจ่ายน้ำจากจุดต่างๆในกระบวนการผลิต หรือจากสถานที่ที่เกิดน้ำเสีย ไปยังสถานที่บำบัดน้ำเสีย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ต่างๆในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย เช่น การผสม การเติมอากาศ หรือการกรอง เพื่อให้สามารถคัดแยกสารปนเปื้อนออกจากน้ำเสียก่อนปล่อยน้ำกลับสู่สิ่งแวดล้อม หรือนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วนำกลับมาใช้ใหม่อย่างปลอดภัย โดยหน้าที่ของปั๊มน้ำอุตสาหกรรม ในระบบบำบัดน้ำเสีย มีดังนี้

หน้าที่สำคัญของปั๊มน้ำอุตสาหกรรม ในระบบบำบัดน้ำเสีย

1.ปั๊มน้ำอุตสาหกรรมใช้ในการสูบน้ำเสีย
ใช้ในการสูบน้ำเสียจากแหล่งน้ำเสียไปยังสถานที่บำบัดน้ำเสียหรือระหว่างขั้นตอนต่างๆภายในระบบบำบัดน้ำเสีย การเลือกปั๊มอุตสาหกรรมที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับลักษณะของน้ำเสียที่ต้องการบำบัด สารแขวนลอยหรือของแข็งที่เจือปนในน้ำเสีย และอัตราการไหลของน้ำเสีย

• ปั๊มซับเมอร์สหรือปั๊มสูบน้ำเสียชนิดจุ่มน้ำ (Submersible Pump)
ออกแบบมาสำหรับใช้งานกับน้ำเสีย ใบพัดแบบนันคล๊อก (Non-Clog Impeller) รองรับของแข็งขนาดใหญ่ให้ไหลผ่านได้ โดยไม่ทำให้เกิดการอุดตัน วัสดุทนต่อการสึกหรอและการกัดกร่อนของสารละลายหรือกรดต่างๆได้ดี มีทั้งแบบที่ติดตั้งกับชุดไกด์เรียล (Autosetter) เพื่อให้สะดวกในการบำรุงรักษา

ปั๊มน้ำอุตสาหกรรม

รูปภาพ ปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียและสิ่งปฎิกูล (รุ่น CP)


• ปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียหรือปั๊มไดโว่สูบน้ำเสีย (Submersible Vortex Pump)
ออกแบบมาสำหรับใช้ในระบบบำบัดน้ำเสียที่มีเส้นใยปะปน และด้วยใบพัดแบบ Vortex ที่รองรับของแข็งชนาดใหญ่ หรือลักษณะเป็นเส้นให้ไหลผ่านได้โดยไม่ทำให้เกิดการอุดตัน จึงเหมาะสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียในอุตสาหกรรมกระดาษ สิ่งทอ ฟอกหนัง รองเท้า เป็นต้น

ระบบบำบัดน้ำเสีย

รูปภาพ ปั๊มจุ่มสูบน้ำเสีย (รุ่น WQ)


• ปั๊มแบบไดอะแฟรม,ปั๊มเคมี
ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับสูบจ่ายสารเคมีในระบบบำบัดน้ำเสีย และจ่ายสารเคมีของถังบำบัดเคมี โดยแผ่นไดอะแฟรม ทำหน้าที่สร้างความดันและย้ายของเหลว มักใช้กับน้ำเสียที่มีสารแขวนลอยหรือสารเคมีที่รุนแรง

ระบบบำบัดน้ำเสีย

รูปภาพ ปั๊มเติมสารเคมีแบบไดอะแฟรม (รุ่น AH)

ปั๊มน้ำอุตสาหกรรม

รูปภาพ ปั๊มเติมสารเคมีแบบไดอะแฟรม (รุ่น BX)

2.ปํ๊มน้ำอุตสาหกรรมใช้ในการหมุนเวียนและการผสม
ในระบบบำบัดน้ำเสีย ปั๊มอุตสาหกรรมที่ใช้เพื่อการหมุนเวียนและการผสม ต้องมีคุณสมบัติในการจัดการกับน้ำเสียที่อาจมีสารแขวนลอยและทนต่อการกัดกร่อนและการสึกหรอได้ดี ซึ่งปั๊มที่ใช้บ่อยในกระบวนการเหล่านี้ได้แก่

• เครื่องกวนตะกอนชนิดจุ่มใต้น้ำ (Submersible Mixer)
ใช้สำหรับกวนน้ำเสียเพื่อไม่ให้เกิดการตกตะกอนทับถมที่ก้นบ่อ ป้องกันการตกตะกอนของสารแขวนลอย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้สำหรับรักษาการหมุนเวียนของน้ำ เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น

รูปภาพ เครื่องกวนตะกอนชนิดจุ่มใต้น้ำ (รุ่น MA)


• ใบกวน (Hyperboloid Mixer)
ทำหน้าที่กระจายตะกอนในก้นบ่อให้เป็นเนื้อเดียวกันและตีฟองกระจายได้อย่างละเอียด ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนในอัตราสูง ทั้งนี้ใบกวนสามารถรับปริมาณน้ำเสียในอัตราที่สูงได้แบบต่อเนื่อง โดยไม่ก่อให้เกิดฝอยน้ำลอย

รูปภาพ ใบกวน รุ่น MH


• ใบพัดความเร็วต่ำ (Low Speed Flow Propeller)
เป็นเครื่องกวนตะกอนใต้น้ำอีกประเภทหนึ่ง ที่ใช้สำหรับกวนน้ำเสีย เพื่อไม่ให้เกิดการตกตะกอนทับถมที่ก้นบ่อ และใช้สำหรับสร้างการหมุนเวียนของน้ำ และปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น

รูปภาพ ใบพัดความเร็วต่ำ (รุ่น LFP)

• ปั๊มจุ่มระบายน้ำ (Axial-Mixed Flow Submersible Pump)
ใช้สำหรับสูบน้ำเสียที่มีปริมาณน้ำเยอะในระดับแรงดันต่ำ เหมาะสำหรับหมุนเวียนน้ำในบ่อน้ำเสียขนาดใหญ่ หรือลำเลียงน้ำเสียระยะทางไกล


รูปภาพ ปั๊มจุ่มระบายน้ำ (รุ่น SAF&SMF)

3.ปํ๊มน้ำอุตสาหกรรมใช้ในการเติมอากาศ
ในระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้กระบวนการทางชีวภาพ การเติมอากาศเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้แบคทีเรียสามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น การเลือกปั๊มน้ำและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเติมอากาศ จำเป็นต้องพิจารณาจากขนาดของระบบบำบัดน้ำเสีย ความเข้มข้นของสารอินทรีย์ที่ต้องการย่อยสลาย และนอกจากนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงต้นทุนในการดำเนินงานและการบำรุงรักษาอีกด้วย ปั๊มน้ำและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเติมอากาศมีหลายประเภท ได้แก่

• เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ (Submersible Aerator)
ใช้สำหรับสูบน้ำเสียที่มีปริมาณน้ำเยอะในระดับแรงดันต่ำ เหมาะสำหรับหมุนเวียนน้ำในบ่อน้ำเสียขนาดใหญ่ หรือลำเลียงน้ำเสียระยะทางไกล

รูปภาพ เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ รุ่น AR

• เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ (Submersible Jet Aerator)
ปั๊มประเภทนี้จะใช้เทคนิคการฉีดน้ำที่ความเร็วสูงผ่านหัวฉีดเพื่อดึงอากาศเข้ามาในน้ำและสร้างฟองอากาศ เพื่อเพิ่มออกซิเจน


รูปภาพ เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ รุ่น JA

• เครื่องเติมอากาศบนผิวน้ำ (Surface Aerator)
โดยลักษณะการทำงานติดตั้งอยู่บนผิวน้ำ ใช้หลักการดูดน้ำจากในบ่อขึ้นมาผสมกับอากาศบนผิวน้ำและกระจายฟองอากาศเป็นวงกว้าง

รูปภาพ เครื่องเติมอากาศแบบผิวน้ำ รุ่น SAR


• หัวจ่ายอากาศใต้น้ำ (Fine Bubble Disc Diffuser)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับกระจายฟองอากาศเล็กๆ ให้ทั่วบริเวณของบ่อบำบัด
น้ำเสีย เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปภาพ หัวจ่ายอากาศใต้น้ำแบบจานชนิดฟองละเอียด (รุ่น RCD)

• เครื่องเป่าลม รูทโบลเวอร์ (Three Lobe Roots Blower)
อุปกรณ์นี้มักใช้ควบคู่กับหัวจ่ายอากาศใต้น้ำ สำหรับเป่าลม เพื่อผลักอากาศผ่านท่อและแผ่นเมมเบรนของหัวจ่ายอากาศ สร้างออกซิเจนในบ่อบำบัดน้ำเสีย

รูปภาพ เครื่องเป่าลม รูทโบลเวอร์ Three-Lobe Roots Blower (รุ่น GRB)

4. ปํ๊มน้ำอุตสาหกรรมใช้ในการกรองและแยกของแข็ง
ในขั้นตอนนี้ของระบบบำบัดน้ำเสีย ปั๊มน้ำทำหน้าที่สูบน้ำเสียผ่านระบบกรองหรืออุปกรณ์แยกของแข็ง เพื่อลดปริมาณของแข็งก่อนปล่อยน้ำสู่แหล่งน้ำ ซึ่งปั๊มน้ำในขั้นตอนนี้อาจถูกใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกรอง เช่น ตะแกรง กระบวนการตกตะกอน หรือเครื่องแยกตะกอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดตะกอนและของแข็งออกจากน้ำเสีย ดังนั้นการเลือกใช้งานจึงขึ้นอยู่กับประเภทของน้ำเสียและเงื่อนไขการดำเนินการในระบบบำบัดน้ำเสีย ได้แก่

• ปั๊มน้ำแบบสกรู (Screw Pump)
โดยใช้กลไกการทำงานของสกรูในการย้ายน้ำเสีย ไปยังขั้นตอนการตกตะกอนหรือการกรองในระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งปั๊มน้ำชนิดนี้สามารถจัดการกับสารแขวนลอยได้ดี


รูปภาพ ปั๊มน้ำแบบสกรู (รุ่น G)

5.ปํ๊มน้ำอุตสาหกรรมใช้ในการย้ายน้ำที่ได้รับการบำบัดในระบบบำบัดน้ำเสีย
การย้ายน้ำที่ได้รับการบำบัดแล้วในระบบบำบัดน้ำเสีย มักจะถูกใช้ปั๊มน้ำที่สามารถรองรับปริมาณตะกอนที่อาจหลงเหลืออยู่เล็กน้อยได้

• ปั๊มเซล์ฟไพร์มมิ่ง (Self-priming Pump)
เป็นปั๊มที่ใช้สูบน้ำเสียที่มีของแข็งขนาดเล็กปนเปื้อนอยู่เล็กน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ไม่ทำให้เกิดการอุดตันภายในปั๊ม มีช่องดักขยะบริเวณหัวปั๊ม สามารถเปิดออกมาทำความสะอาดได้ หัวปั๊มมีขนาดใหญ่ ทำให้สามารถกักเก็บน้ำได้ในหัวปั๊ม โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Foot valve


รูปภาพ ปั๊มเซลฟ์ไพร์มมิ่ง (รุ่น GMP)

รูปภาพ ปั๊มเซล์ฟไพร์มมิ่งชนิดต่อยอย ( รุ่น KMP )

ฉนั้นแล้ว การเลือกปั๊มอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในระบบบำบัดน้ำเสียในแต่ละขั้นตอนต่างๆนั้น มีความสำคัญ เนื่องจากปั๊มอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ เป็นองค์ประกอบหลักที่จำเป็นในการทำให้กระบวนการต่างๆในระบบบำบัดน้ำเสียเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพสูงสุด

บริษัท ไทยพินนะเคิ้ล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายเครื่องบำบัดน้ำเสีย, เครื่องปั๊มน้ำ, เครื่องสูบน้ำ, เครื่องปั๊มน้ำอุตสาหกรรม, เครื่องปั๊มน้ำครัวเรือน, เครื่องปั๊มน้ำการเกษตร และระบบพัฒนานวัตกรรมที่ทันสมัยซึ่งรวมไปถึงระบบ IOT ที่เชื่อมต่อกับเครื่องปั๊มน้ำและเครื่องบำบัดน้ำเสียภายใต้แบรนด์ชั้นนำ เช่น GSD, Walrus, Dayuan, Nikkiso และ SeAH ที่คำนึงถึงสินค้าที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพและพร้อมยินดีให้คำแนะนำจากทีมงานวิศกรที่มีควมเชี่ยวชาญและชำนาญเพื่อสร้างความคุ้มค่าให้กับลูกค้ามากที่ นอกจากนั้นยังมีบริการจัดส่งและอบรมวิธีการติดตั้งที่ถูกต้องอย่างเป็นระบบเพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

แชร์บทความ :

Facebook
X